แมลงและสัตว์ฟันแทะหลายชนิดเป็นต้นเหตุนำโรค ความรำคาญ และความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจอย่างมากมายมาสู่มนุษย์ ตั้งแต่ในอดีตมนุษย์ได้พยายามหาวิธีป้องกันและกำจัดมาโดยตลอด โดยมีการพัฒนาการควบคุมแมลงและสัตว์ฟันแทะจากการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2585 ได้มีการนำสารดีดีที (Dichlorodiphenyl trichloroethane) มาใช้เป็นสารกำจัดแมลงเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นต่อมาได้มีการใช้สารอินทรีย์สังเคราะห์อื่น ๆ เป็นสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบันในประเทศไทยสารดีดีที จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือห้ามมีการผลิต นำเข้าส่งออกและมีไว้ในครอบครอง ด้วยมีข้อมูลความเป็นพิษต่อมนุษย์และการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม
วัตถุอันตรายที่นำมาใช้ในบ้านเรือนเพื่อกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะ เช่น ปลวก ยุง แมลงวัน แมลงสาบ มด ไรผุ่น และหนู เป็นต้น มีหลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ชนิดฉีดพ่นทั้งแบบพ่นอัดก๊าซและฉีดพ่นธรรมดา ชนิดขด ชนิดแผ่นใช้ไฟฟ้า ชนิดผงหรือชนิดเหยื่อ เป็นต้น
เสถียรมาก ไม่ระเหย ละลายได้ดีในน้ำ บางชนิดคงอยู่ได้นาน มีพิษสะสมต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น สารประกอบของสารหนู ไซยาไนด์ ปรอท และแทลเบี่ยม เป็นต้น
เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมีส่วนผสมธาติคาร์บอนไฮโครเจนและธาตุอื่น ๆ คลอรีน ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1.2.1 สารประกอบออร์กาโนคลอรีนหรือคลอรีนอินทรีย์(Organochlorine Compounds) เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคลอรีน ไฮโดรเจน คาร์บอนบางชนิดมีออกซิเจนรวมอยู่ด้วยเรียกว่า คลอริเนเต็ดไฮโดรคาร์บอน (Chlorinated hydrocabon) หรือคลอรีเนเต็ด อินเซคติไซค์ เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ตกค้างนาน มีความคงตัว ไม่สลายตัว ไม่ละลายได้ดีในน้ำมัน ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น เป็นสารกลุ่มแรกที่นำมาใช้ควบคุมแมลงในบ้านเรือน ปัจจุบันสารในกลุ่มนี้หลายชนิดจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออกหรือครอบครอง เพราะมีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก่อให้เกิดมะเร็ง ตกค้างในสิ่งแวดล้อมแพร่กระจายและสะสมเพิ่มขึ้นในสัตว์ต่าง ๆ ตามลำดับในชั้นห่วงโซ่อาหาร สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดีดีที ลินแดน คลอเดน อัลดริน เฮ็ปตาคลอร์ เป็นต้น
1.2.2 สารประกอบออร์กาโนฟอสเฟต หรือฟอสเฟตอินทรีย์ (Organophosphate Compounds) เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญ ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นสารสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ทำให้แมลงตายทั้งโดยการสัมผัสและดูดซึมเข้าร่างกาย มีฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าสารกลุ่มไพรีทรอยด์ นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นและเยื่อ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์และสัตว์ ดังนั้นมีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่สัมผัสกับสารกลุ่มนี้ คือ จะต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาระดับซีรั่มโคลีนเอสเตอเรส สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไดคลอวอส (ดีดีวีพี) ไดอะซีนอน
1.2.3 สารประกอบคาร์บอเมต (Carbamate) เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีพิษคล้ายสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คือมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ดังนั้นผู้ที่สัมผัสสารดังกล่าวต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาระดับซีรั่มโคลีนเอสเตอเรส นิยมใช้ในรูปฉีดพ่นโดยผสมกับสารกลุ่มไพรีธรอยด์ สารในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรพอกเซอร์ คาร์บาริล เบนดิโอคาร์บ เป็นต้น
1.2.4 สารไพรีทรอยด์ (Pyrethriods) เป็นสารเคมีสังเคราะห์มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารไพรีทริน ที่สกัดมาจากพืช ได้แก่ ดอกเบญจมาศ วงศ์ Chrysanthemum เป็นสารกำจัดแมลงที่ปลอดภัยในการใช้และมีพิษต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูง แต่ด้วยคุณสมบัติของสารไพรีทรินที่ไม่ทนต่อแสง จึงมีการสังเคราะห์สารไพรีทรอยด์ (Pyrethriods) ขึ้นทดแทน เพราะทนต่อแสงได้นานกว่า สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อการกำจัดแมลงโดยเกิดพิษที่ระบบประสาทของแมลง แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมรวมทั้งมนุษย์ พบว่าเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนแปลงและถูกขับถ่ายออกโดยไม่สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนในสิ่งแวดล้อม ดินและพืชจะเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว สารในกลุ่มนี้ได้แก่ อัลเลทริน ไบโออัลเลทริน ไบโอเรสเมทริน ไซเปอร์เมทริน ไพนามิน เพอเมทริน
1.2.5 สารออกฤทธิ์กลุ่มอื่น ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่เนื่องจากการใช้สารเดิม ๆ เป็นเวลานานแมลงอาจเกิดความต้านทานขึ้นได้ ดังนี้
สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนและสารยับยั้งการสร้างฮอร์โมน (Insect growth regulators) เช่น สาร Hexaflumuron เป็นสารยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (Chitin synthesis inhibitors) ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว รวมทั้งได้ผ่านการทดสอบจากกรมป่าไม้ว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกได้ ภายในเวลา 1-2 เดือน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดปลวกทั้งชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณรอบนอกอาคาร ในการนำเหยื่อกำจัดปลวกนี้ไปใช้ จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมที่มีความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี รวมทั้งควรมีความชำนาญในการที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อได้ด้วย เนื่องจากเยื่อที่นำเข้ามาใช้แก้ปัญหาในปัจจุบันยังมีประสิทธิภาพในการดึงดูดให้ปลวกเข้ามากินได้ยังไม่ดีนัก
เป็นการใช้สารเคมีควบคุมปลวกลงไปในพื้นดิน เพื่อทำให้ภายใต้อาคารเป็นพิษปลวกไม่สามารถเจาะผ่านทะลุขึ้นมาได้ หรืออาจใช้สารเคมีควบคุมปลวก โรยและฉีดพ่นบนตัวปลวกโดยตรงเพื่อกำจัดปลวกก็ได้ วิธีการฉีดพ่นด้วยสารเคมีควบคุมปลวกก่อนก่อสร้างอาคาร สามารถให้ผลในการควบคุมปลวกใต้ดินได้ดีที่สุดภายในระยะเวลาที่สารเคมีออกฤทธิ์ตามปลวกสารเคมีของผู้ผลิตและอัตราส่วนการใช้
การฉีดพ่นก่อนปลูกอาคาร การเจาะและอัดลงดิน
การกำจัดแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของปลวก
1. บริเวณพื้นที่ปลูกสร้างอาคารควรกำจัดเศษไม้ กิ่งไม้ ตอไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่จะเป็นแหล่งอาหารล่อใจให้ปลวกเข้ามาอาศัยอยู่กินภายใต้พื้นอาคารหรือบริเวณรอบ ๆ
2. หมั่นเคลื่อนย้ายจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เก็บไว้เป็นระยะเวลานาน เช่น ในห้องเก็บของ หรือห้องใต้บันได
3. หมั่นตรวจตราร่องรอยหรือเส้นทางการเข้าทำลายของปลวกที่จะเข้าสู่ตัวอาคารก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงขึ้น หากพบต้องดำเนินการพ่นสารเคมีโดยเร็ว
การทำให้พื้นดินภายใต้อาคารเป็นพิษ (บ้านก่อนก่อสร้าง)
ในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกใต้ดินเพื่อให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
1. ใช้วัตถุอันตรายควบคุมปลวกฉีดพ่นหรือราดลงบนพื้นผิวดินภายใต้ตัวอาคารให้ทั่วในอัตราส่วนผสมตามความเข้มข้นที่กำหนด 5 ลิตรต่อทุก ๆ 1 ตารางเมตร ก่อนปูพื้นหรือเทคอนกรีต สำหรับแนวคานคอดินให้ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร ทั้งด้านในและด้านนอดแล้วจึงใช้ส่วนผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดเทราดลงไปตามร่องนั้น ในอัตราส่วนผสม 5 ลิตรต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร
2. ฉีดพ่นหรือราดวัตถุอันตรายซ้ำอีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่ทำการถมดินหรือ ถมทรายแล้วอัดพื้นให้แน่นก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต
3. บริเวณรอบ ๆ อาคาร ควรฉีดหรือพ่นวัตถุอัตรายควบคุมปลวกเป็นแนวป้องกันรอบนอกอาคารอีกครั้งโดยใช้ส่วนผสมในอัตรา 5 ลิตรต่อทุกระยะ 1 ตารางเมตรโดยรอบอาคาร
การป้องกันกำจัดในอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้ว
ขั้นตอนนี้จะค่อนข้างยุ่งยากในการปฏิบัติมากกว่าการฉีดพ่นก่อนการปลูกสร้างอาคารมาก จำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาดำเนินการสำรวจการเข้าทำลายอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้ววางแผนวิธีการใช้วัตถุอันตรายในการควบคุมในแต่ละจุดให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามในการฉีดพ่นในระยะหลังการปลูกสร้างนี้จะหวังผลเต็มที่ถึง 100% ไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของโครงสร้างอาคารโดยทั่วไปมักมีจุดยากแก่การสำรวจ ซึ่งปลวกอาจจะหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโดยที่เราสำรวจไม่พบ นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารบางส่วนอาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดในจุดที่จำเป็นก็ได้เช่นกัน
จุดสำคัญๆ ของโครงสร้างอาคารที่ควรจะต้องคำนึงถึงในการควบคุมปลวก
บริเวณขอบบัวของพื้นอาคารและพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่างๆ บริเวณพื้นใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเป็นเวลานานๆ
บริเวณท่อระบายน้ำทิ้งและท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้ เป็นจุดหนึ่งที่ปลวกทำทางเดินจากพื้นดินขึ้นไปตามของท่อ ในการใช้วัตถุอันตรายฉีดพ่นปลวกจำเป็นต้องมีการเจาะผนังช่องว่างดังกล่าวด้วยสว่านไฟฟ้า แล้วอัดวัตถุอันตรายเข้าไปเพื่อทำลายรังภายในไม่ให้ปลวกเข้าไปอาศัยหรือทำทางเดินขึ้นไปได้อีก
บริเวณรอยแตกของเสาไม้ผนังหรือพื้นคอนกรีต จำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยาอัดวัตถุอันตรายป้องกันกำจัดปลวกเข้าไปในแต่ละจุดเพื่อไม่ให้ปลวกแทรกผ่านเข้ามาได้
บริเวณคร่าวเพดานและฝาสองชั้นที่มักจะบุด้วยไม้อัดหรือใช้ไม้เนื้ออ่อนและมักจะถูกปลวกเข้าทำลายอยู่ภายใน หรือบางครั้งจะทำรังอาศัยอยู่ภายในช่องว่างของผนังดังกล่าว จุดเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สว่านเจาะไม้เจาะเป็นรูทุกระยะ 1 ฟุต ตามแนวคร่าว เพื่อฉีดพ่นวัตถุอันตรายเข้าไปให้ทั่วถึง ในบางจุดอาจใช้วัตถุอันตรายชนิดผงโรยหรือฉีดพ่นได้ สำหรับการฉีดพ่นปลวกในโครงสร้างที่เป็นไม้นั้น หากใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด หรือน้ำมันซักแห้งแทนน้ำจะช่วยให้การแพร่กระจายและการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเน้อไม้เป็นไปได้ดีขึ้น
พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต จำเป็นจะต้องใช้สว่านไฟฟ้าเจาะคอนกรีตขนาด 2.5 – 3 หุน เจาะพื้นอาคารให้ทะลุถึงพื้นดินโดยเฉพาะตามบริเวณขอบแนวคานคอดินทั้งด้านนอกด้านในและรอบๆ เสาโดยเว้นระยะห่างกันทุกๆ 1 เมตร และพื้นที่ภายใต้อาคารทั้งหมดในระยะทุกๆ 1 ตารางเมตร เพื่อฉีดพ่นหรืออัดวัตถุอันตรายลงไปในดินในอัตราส่วนผสม 5 ลิตร ต่อทุก ๆ 1 ตารางเมตร โดยอาจใช้อุปกรณ์เครื่องพ่นยาแรงสูงเพื่อความสะดวกรวดเร็วและการกระจายของวัตถุอันตรายได้อย่างสม่ำเสมอทั่วถึง ลักษณะของหัวฉีดที่ใช้พ่นนั้นจะต้องมีรูเปิด 4 รู เพื่อให้ส่วนผสมไหลออกมาได้รอบทิศทาง
การเลือกใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ร่วมกันในการควบคุมมด
วิธีหลัก ๆ ที่เรานำมาใช้เพื่อควบคุมมด มักจะประกอบด้วย
1. การควบคุมโดยใช้หลักการทางด้านสุขาภิบาล เนื่องจากมดต้องการอาหารและน้ำเพื่อการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ดังนั้นการที่มดเข้ามาในที่พักอาศัยของเราก็เพื่อเข้ามาหาอาหารและน้ำเพื่อนำกลับไปเลี้ยงแม่รัง ตัวอ่อน และมดงานที่ทำงานอยู่ในรังรวมทั้งเพื่อเลี้ยงตัวเอง ดังนั้นถ้ามีอาหารและน้ำอย่างพอเพียงและต่อเนื่อง ปริมาณของมดที่พบเข้ามาในบ้านก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเข้ามาสร้างรังย่อยขึ้นในบ้านของเราได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นการป้องกันกำจัดก็จะทำได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นวิธีการที่สำคัญก็คือ เราควรทำความสะอาดบ้านควบคุมแหล่งอาหาร เก็บอาหารไว้ในที่ที่มดไม่สามารถเข้าไปได้ ดูแลไม่ให้มีเศษอาหารตกหล่นและหมั่นเก็บขยะทิ้งให้เรียบร้อย การควบคุมโดยใช้หลักสุขาภิบาลนั้นควรกระทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะสามารถลดปริมาณของมดลงได้เป็นอย่างดี
2. การควบคุมโดยการทำลายรังที่อยู่อาศัยของมด มดที่เราพบเห็นอยู่เสมอนั้นคือมดงาน การควบคุมทำลายมดงานที่เราเห็นไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตามจะให้ผลได้ในระดับหนึ่งในแง่ของการลดปริมาณของมด แต่ถ้าเป็นไปได้โดยที่เราสามารถสำรวจให้พบรังของมดและทำลายมดได้ทั้งรังนั้นก็จะให้ผลดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการที่จะพบรังหลักของมดนั้นเป็นเรื่องยาก สิ่งที่เราอาจจะทำได้ก็คือการสำรวจและการพบรังย่อยของมดที่กระจายอยุ่ภายในบ้านเรือนและดำเนินการกำจัดรังย่อย ๆ เหล่านั้น ในการตรมหารังของมดเราอาจสังเกตได้จากร่องรอยที่มดทิ้งไว้ซึ่งมดจะใช้ทางเดินซ้ำ ๆ ในการเข้ามาหาอาหาร บางครั้งเราอาจวางอาหารพวกน้ำตาลหรือโปรตีนเพื่อล่อให้มดเข้ามาซึ่งอาจจะต้องมีการทำซ้ำ ๆ แล้วเราติดตามเพื่อค้นหารังของมดให้พบและทำลายรังเหล่านั้น
3. การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อมของสถานที่ วิธีนี้จะเป็นการปรับปรุงสถานที่ไม่ให้มีความเหมาะสมที่มดจะเข้ามาสร้างรังย่อยภายในบ้านเรือน เช่น ถ้าพบรอยแตกหรือช่องทางเดินตามบ้านที่มดใช้เป็นทางเดินจากภายนอกเข้ามาในอาคารเพื่อหาอาหารและน้ำ ให้ทำการอุดหรือปิดช่องทางเดินเหล่านั้น อีกทั้งวิธีนี้จะเป็นผลดีช่วยป้องกันไม่ให้มดกลับเข้ามาได้อีกภายหลังที่เราได้ดำเนินการควบคุมมดนั้นแล้วด้วยวิธีการต่าง ๆ เราควรหมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่เหมาะสมสำหรับมดใช้เป็นที่ทำรังย่อย เช่น ทำการซ่อมแซมรอยแตกของบ้านตามฝ้าเพดานหรือฝาหนัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวาน (honeydew) ไว้ใกล้บ้าน เนื่องจากน้ำหวานชนิดนี้เป็นอาหารทางธรรมชาติของมดละเอียดบางชนิดอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อมดขึ้นมากินน้ำหวานบนต้นไม้ที่ปลูกอยู่ใกล้บ้านแล้ว ต้นไม้นั้นจะเป็นทางให้มดเข้ามารบกวนหรือเข้ามาสร้างรังย่อยในบ้านเรือนได้
4. การควบคุมโดยการใช้วัตถุอันตราย เป็นทางเลือกหนึ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ เราจะใช้สารดังกล่าวก็ต่อเมื่อประชากรของแมลงนั้นมีจำนวนมากจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเจ้าของบ้านไม่สามารถยอมรับได้ การพิจารณาเลือกชนิดของวัตถุอันตรายจะต้องเลือกใช้ตามสถานการณ์และสถานที่ รวมทั้งดูว่าเป็นการใช้เพื่อควบคุมมดในบ้านหรือนอกบ้าน ซึ่งประเภทของวัตถุอันตรายก็จะต่างกันออกไปตามลักษณะของพิษตกค้าง ในการเลือกใช้วัตถุอันตรายมีหลักการดังนี้
4.1 วัตถุอันตรายนั้นควรมีประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์เร็วต่อแมลงที่เราต้องการกำจัดโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการประกอบการตัดสินใจ
4.2 เป็นพิษต่ำต่อคนสัตว์อื่น ๆ และแมลงที่มีประโยชน์ เช่น แมลงศัตรูธรรมชาติโดยที่ควรมีค่า LD50 สูง
4.3 ต้องมีความคงตัวและสามารถตระเตรียมได้ง่าย
4.4 ไม่ติดไฟง่ายและไม่มีกลิ่นเหม็น.
4.5 ไม่มีคุณสมบัติกัดกร่อนและเปรอะเปื้อนหลังจากการใช้แล้ว
4.6 รูปแบบของวัตถุอันตรายนั้น ต้องมีความเหมาะสมกับสถานที่ที่จะใช้ เช่นใช้ในบ้านหรือบริเวณนอกบ้านโดยจะพิจารณาจากการมีพิษตกค้างเป็นหลักด้วย
4.7 ต้องใช้ตามความเข้มข้นที่เหมาะสมตามที่ฉลากแนะนำ
4.8 มีการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับรูปแบบของวัตถุอันตรายและใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี
การจัดการแมลงสาบ (Cockroach Management)
1. การสำรวจตรวจสอบ (Inspection)
การสำรวจสถานที่แบ่งออกเป็นการสำรวจก่อนการปฏิบัติงานและภายหลังการปฏิบัติงาน ซึ่งการสำรวจทั้งสองขั้นตอน ควรเป็นการสำรวจตามมาตรฐาน “การสำรวจที่ละเอียดถ้วนทั่ว (A Thorough Survey)” โดยมีชุดสวมใส่เพื่อการสำรวจโดยเฉพาะขณะปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่จำเป็น เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่างแมลง กระดานรองเขียนเพื่อจดบันทึก เป็นต้น
- ก่อนการปฏิบัติงาน
เพื่อตรวจหาการมีอยู่ของแมลง ชนิด จำนวน ความเสียหายจาการทำลายของแมลงสาบและจัดทำแผนผังของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงโดยรอบที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดการ เช่น แหล่งหลบซ่อนอาศัย แหล่งอาหารและปัจจัยอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการระบาด เป็นต้น พร้อมจัดทำรายงานผลการสำรวจ (Survey Finding Report) เพื่อนำเสนอลูกค้าพร้อมการเสนอราคาหรือเมื่อมีการตกลงทำสัญญาบริการ รายงานดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการเข้าทำบริการโดยฝ่ายบริการหรือฝ่ายปฏิบัติการได้
- ภายหลังการปฏิบัติงาน
เพื่อติดตามตรวจสอบผลของการทำบริการว่าแมลงลดลงหรือไม่เพียงใดจัดทำรายงานการติดตามผล (Follow-up Inspection Report) เพื่อลูกค้าทราบและเก็บบันทึกเพื่อการอ้างอิงและตรวจสอบ
2. การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical Control)
- การใช้กาวดักแมลงสาบชนิดที่มีเหยื่อล่อ (Food Attractant)
- การใช้กล่องดักจับแมลงสาบแบบต่าง ๆ (Trappinpg Station)
- การใช้สารเพศล่อ (Sex Pheromone)
3. การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (Physical Control)
- สำรวจตรวจสอบวัสดุสิ่งของ สินค้า วัตถุดิบที่จะนำเข้ามาสู่อาคารว่ามีแมลงสาบเข้ามาสู่อาคารว่ามีแมลงสาบหรือไข่ของแมลงสาบติดเข้ามาด้วยหรือไม่
- การใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลงสาบที่แหล่งหลบซ่อนหรือเมื่อพบเห็นตัว
4. โดยการใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโต (Insect Growth Regulators)
สารยับยั้งการเจริญเติบโต ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในต่างประเทศเพื่อการจัดการแมลงอย่างแพร่หลาย และในเมื่องไทยก็มีการนำมาใช้นานแล้วเช่นกัน เพียงแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเหมือนในต่างประเทศ IGR เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้าและให้ผลในระยะยาวสามารถกำจัดแมลงสาบได้ค่อนข้างครบถ้วยสมบูรณ์และมีความปลอดภัยสูง
5. การจัดการโดยใช้วัตถุอันตราย
การพิจารณานำวัตถุอันตรายมาใช้ในการกำจัดแมลงสาบควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อการใช้มาตรการอื่น ๆ โดยการไม่ใช้วัตถุอันตรายไม่บังเกิดผลแล้วเท่านั้น แม้กระนั้นก็ยังต้องตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์การพิจารณาและการดำเนินการด้วยความละเอียดรอบคอบ
6. รูปแบบวัตถุอันตรายและสถานที่ใช้ทำบริการ
แบบฝุ่น (Dust) ควรพิจารณาเลือกใช้ในบริเวณที่ไม่สามารถฉีดพ่นวัตถุอันตรายได้ เช่น บริเวณแผงสวิทซ์ไฟ ปลั๊กไฟ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
แบบเหยื่อ (Bait) ควรใช้ภายหลังการฉีดพ่นแมลงสาบส่วนใหญ่หมดไปแล้วหรือใช้ในบริเวณที่มีปริมาณแมลงสาบไม่ซุกชุมมากนัก
แมบบน้ำ (Liquid Spray) ใช้ฉีดพ่นบริเวณแหล่งหลบซ่อนอาศัยและแหล่งอาหารของแมลงสาบ วัตถุประสงค์เพื่อให้แมลงสาบตายทันทีและหรือเพื่อให้มีฤทธิ์ตกค้างได้เป็นระยะเวลานาน
7. วิธีการทำบริการ
การวางแผนการทำบริการ ควรจัดทำตารางการวางแผนการทำบริการโดยกำหนดวิธีการและความถี่ห่างในการทำบริการให้เหมาะสมกับลักษณะสถานที่รับบริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำวัตถุอันตรายมาใช้เท่าที่มีความจำเป็นและมีการสลับสับเปลี่ยนวัตถุอันตรายและรูแบบการทำบริการอยู่ในตัวอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อป้องกันแมลงที่อาจสร้างความด้านทานต่อวัตถุอันตรายรูปแบบของแผนกการทำบริการ (Treatment Plan) อาจจัดทำเป็นรายไตรมาส ตามตัวอย่างในภาคผนวกที่ ก็ได้
การทำบริการ เพ่อให้ฝ่ายปฏิบัตการหรือฝ่ายบริการทราบถึงรายละเอียดของวิธีการทำบริการ ตลอดจนวัตถุอันตรายที่ใช้ในการจัดการแมลงาสบให้เป็นไปตามความเหมาะสม หรือข้อตกลงของแต่ละสถานที่รับบริการ จึงควรจัดทำ “รายละเอียดการทำบริการ (Treatment Details)” แนบไว้กับการ์ดบริการด้วย ตามตัวอย่างในภาคผนวกที่
การฉีดพ่นวัตถุอันตราย อาจแบ่งหรือแยกเป็นการฉีดพ่นภายในตัวอาคารและภายนอกตัวอาคาร ทั้งนั้เพื่อที่จะได้สารมารถกำหนดความถี่ห่างและวัตถุอันตรายที่ใช้แตกต่างกันออกไปได้ หากกำหนดการทำบริการเป็นรูปแบบขงอไตรมาสบริการการฉีดพ่นในเดือนที่ 1 ของพื้นที่ภายในจะเป็นการทำบริการใหญ่และ ละเอียดกว่าในเดือนที่ 3 ของแต่ละไตรมาส ซึ่งเป็นการฉีดพ่นเฉพาะจุด (Spot Treatment) เท่าที่เห็นสมควร ในขณะที่การทำบริการพื้นที่ภายนอกตัวอาคารจะเป็นการฉีดพ่นใหญ่และละเอียดเหมือน ๆ กันทุกเดือน
การใช้เหยื่อเหลวสำเร็จรูป (Bait Gel) ปกติจะนำมาใช้เพี่อเสริมบริการทั้งที่การใช้ Gel แต่เพียงอย่างเดียว ก็สามารถจัดการแมลงสาบได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในบางลักษณะสถานที่บริการ Gel สามารถนำไปใช้ทำบริการในจุดซึ่งไม่สะดวกหรือไม่ปลอดภัยที่จะทำการฉีดพ่นวัตถุอันตรายหรือใช้แบบฝุ่น (Dust) ได้ เช่น ที่อุปกรณ์ปรุงอาหาร เครื่องชงกาแฟ เครื่องแฟกซ์ โทรศัพท์ เป็นต้น หากกำหนดรูปแบบการทำบริการเป็นรายไตรมาส ก็อาจนำ Gel มาใช้เสริมเฉพาะจุดในทุก ๆ เดือนที่ 2 ของแต่ละไตรมาสได้ ทั้งนี้เพื่อเปลี่ยรูปแบบของวัตถุอันตรายที่ใช้และลักษณะการทำบริการเพื่อป้องกันปัญหาแมลงสร้างความต้านทานวัตถุอันตราย
การพ่นหมอกควัน (Fogging) อย่างเดียวสามารถกำจัดแมลงสาบได้หากเป็นพื้นที่ปิด เช่น ห้องเก็บของ โกดังหรือคลังสินค้าขนาดเล็กเป็นต้น แต่ต้องใช้วัตถุอันตรายที่ออกฤทธิ์เร็วและสามารถขับไล่แมลงให้ออกจากที่หลบซ่อนได้และเน้นพ่นเข้าไปตามซอก มุม ใต้ช้นวาง หรือกองหีบห่อสินค้า หลังจากนั้นทำการปิดประตูหน้าต่างอบเอาไว้ ส่วนในการจัดการแมลงสาบตามท่อหรือรางระบายน้ำจำเป็นต้องมีการฉีดเคลือบวัตถุอันตรายเอาไว้ตรงปากช่อง ร่องหรือขอบฝาท่อเอาไว้ก่อน หลังจากนั้นจึงทำการพ่นหมอกควันเข้าไปให้หนาแน่น ควันจะขับไล่และผลักด้นแมลงสาบให้หนีขึ้นมาถูกต้องสัมผัสกับวัตถุอันตรายที่ฉีดเคลือบเอาไว้
การจัดการยุง
1. การจัดการแหล่งเพาะพันธุ์
แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงแต่ละชนิดแตกต่างกัน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของยุงที่ต้องการกำจัด ดังนี้
1.1 ยุงลาย เพาะพันธุ์ในภาชนะขังน้ำ เช่น โอ่งใส่น้ำดื่ม น้ำใช้ บ่อคอนกรีตขังน้ำในห้องน้ำ แจกันภาชนะใส่ต้นไม้น้ำ การจัดการาต้องเป็นการหาวิธีป้องกันไม่ให้ภาชนะดังกล่าวเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น ปิดฝาภาชนะให้มิชิดด้วยผ้า ตาข่าย หรืออลูมิเนียมหรือแผ่นโลหะ ทำความสะอาดขัดล้างโอ่ง ระบายน้ำทิ้งเปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 4-5 วัน ในกรณีของภาชนะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ยางรถยนต์เก่า โอ่ง อ่างแตก ควรแนะนำให้กำจัดทิ้งไปหรือนำไปดัดแปลงใช้ให้เกิดประโชยน์อื่น เช่น นำไปใส่ดินปลูกพืชสวนครัว เป็นต้น สำหรับแหล่งเพาะพันธุ์ในธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กาบใบพืช กระบอกไม้ไผ่ สามารถป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์โดยใส่ดินหรือทรายหรืออุดด้วยซีเมนต์หรือฉีดพ่นสารกำจัดลูกน้ำซึ่งอาจใช้สารเคมีหรือสารชีวภาพ
2. วิธีการจัดการดับวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ขวด กระป๋อง โอ่งแตก ไหแตก ถังพลาสติกชำรุด ยางรถยนต์ กะลามะพร้าว เปลือกทุเรียน ถ้วยยางพาราเก่า ๆ เป็นต้น ดังนี้
- ฝัง เผาทำลายหรือเก็บรวบรวมในถงนำไปทำรองเท้ายาง ถังน้ำ ถังขยะหรือนำไปหลอมกับมาใช้ใหม่
- ยางรถยนต์เก่าอาจนำไปปลูกต้นไม้หรือนำไปทำแนวกั้นดินป้องกันการถูกคลื่นเซาะทำลาย
- กะลามะพร้าว เปลือกทุเรียนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง
- เรือบดเล็กหรือเรือชำรุดให้คว่ำไว้เมื่อไม่ใช้งาน
1.2 ยุงรำคาญ เพาะพันธุ์อยู่ในท่อระบายน้ำ แหล่งน้ำขังที่มีมลภาวะสูง การจัดการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ทำได้หลายวิธี เช่น
- การเก็บขยะในแหล่งน้ำขัง เพื่อจะได้ไม่เป็นอาหารของลูกน้ำและเป็นท่อหลบซ่อนของลูกน้ำ จากการสังเกตพบว่าแอ่งน้ำขังหรือคลองที่ไม่มีขยะลอยอยู่ในน้ำจะไม่ค่อยมีลูกน้ำยุงรำคาญเพราะไม่มีแหล่งเกาะพักของลูกน้ำไม่มีร่มเงา
- การกำจัดต้นหญ้าที่อยู่ริมขอบบ่อ
- การทำให้ทางระบายน้ำไหลได้สะดวก เพราะยุงรำคาญชอบอาศัยในแหล่งน้ำขังหรือน้ำนิ่ง ซึ่งมีเศษขยะลอยอยู่บนผิวน้ำ
- การถมหรือระบายน้ำออกของแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นเพื่อลดแหล่งเพพันธุ์ให้น้อยลง
1.3 ยุงก้นปล่อง พาหะโรคมาลาเรียมีแหล่งเพาะพันธุ์ตามลำธาร บ่อพลอยแองหินแองดิน คลองชลประทาน สามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดลั้อมให้ไม่เหมาะสมโดยการกลบถมปรับปรุงความเร็วของกระแสน้ำเพื่อรบกวนการวางไข่ของยุงลุทำให้ไข่ยุงกระทบกระเทือน จัดการถางวัชพืชริมลำธาร ลดร่มเงาและแหล่งเกาะพัก
1.4 ยุงพาหะโรคเท้าช้าง มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามป่าพรุ แหล่งน้ำที่มีพืชน้ำฉะนั้นการจัดการกับแหล่งเพาะพันธุ์ทำได้โดยกลบถมหรือทำลายวัชพืช
3. การควบคุมโดยใช้วิธีทางชีววิทยา
การนำสิ่งมีชิวิตตามธรรมชาติมาควบคุมพาหะให้ได้ผลน้ำ ต้องมีปริมาณมากพอที่จะควบคุมประชากรยุงพาหะได้ สามารถหาได้ในท้องถิ่นและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นตลอดจนสิ่งแวดล้อม เช่น การให้ปลากินลูกน้ำ ตัวห้ำ หนอดพยาธิ เชื้อรา แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส
4. การลดการสัมผัสระหว่างคนและยุงพาหะ
เช่น การใช้มุ้ง การสวมเสื้อมิดชิด การใช้สามทาป้องกันยุง การใช้ยาจุดกันยุง การใช้มุ้งลวด
5. การควบคุมโดยวิธีทางพันธุกรรม
เช่น ทำให้โครโมโซมของยุงพาหนะเปลี่ยนไปไม่สามารถนำเชื้อได้ ทำให้ยุงปํนหมันโดยใช้กัมมันตรังสีหรือใช้วัตถุอันตราย
6. การควบคุมโดยใช้วัตถุอันตราย
การใช้มาตรการควบคุมโดยใช้วัตถุอันตรายนี้ จะต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมโดยอาศัยความรู้ทางชีวนิสัยของยุงพาหะ ระบาดวิทยาของโรค ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายต่อมนุษย์และราคาของวัตถุอันตรายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องจากวัตถุอันตรายที่นำมาใช้อย่างปลอดภัยในทางสาธารณสุขนั้นมีจำนวนไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นำมาใช้พ่นชนิดมีฤทธิ์ตกค้างหรือนำมาใช้ติดต่อกันระยะเวลายาวนานทางการเกษตรซึ่งอาจทำให้ยหุงพาหะเกิดความต้านทานต่อสารนั้ได้ ดังนั้นการควบคุมยุงพาหะโดยการใช้วัตถุอันตรายจึงควรใช้ร่วมกับมตรการอื่น